ป้ายกำกับ

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำถามท้ายบทที่ 4

1.       จงอธิบายความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ตอบ แหล่งท่องเที่ยวมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมมท่องเที่ยว เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวเป็นองค์ประกอบหนึ่งของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งมีความสัมพันธ์เกื้อกูลกัน

2.       Tourism Resource, Destination และ Tourism Attraction หมายถึงอะไร
ตอบ -ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว  Tourism  Resources  คือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งรูปธรรมและนามธรรม
-จดหมายปลายทาง  Destination  คือสถานที่ที่ใดที่หนึ่งอาจเฉพาะเจาะจงหรืออาจจะเป็นสถานที่ทั่วๆไปหรืออาจเป็นหลายๆสถานที่ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง
-สิ่งดึงดูใจทางการท่องเที่ยว             Tourist   Attracion  คือสถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรมเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ

3.       ให้นักศึกษายกตัวอย่างแหลงท่องเที่ยวในภูมิลำเนาของนักศึกษา พร้อมกับอธิบายถึงคุณสมบัติที่ดีของแหล่งท่องเที่ยว (3As)นั้นมาให้เข้าใจ
ตอบ    จังหวัดพังงามีอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะสิมิลัน ลักษณะอ่าวสิมิลัน   มีรูป โค้งเหมือนเกือกม้า น้ำลึกโดย เฉลี่ยประมาณ 60 ฟุต ใต้ท้อง ทะเล อุดมไปด้วยกองหิน และ แนวปะการัง มีทั้ง ปะการัง เขากวาง ปะการังใบไม้ ปะการังสมอง และปะการัง ดอกเห็ด ขนาดใหญ่ที่มี ความ สมบูรณ์ มาก ในประเทศไทย สภาพหาดทราย เนื้อละเอียด สวยงามมาก เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ

4.       แหล่งท่องเที่ยวที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ สำหรับในกรณีประเทศไทย มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ  แหล่งท่องเที่ยวที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ มี 3 ประเภทได้แก่
        1.แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
        2.แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
        3.แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น

5.       จงยกตัวอย่างแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของภาคต่างๆ ในประเทศไทย อย่างน้อยภาคละ 3 แหล่งท่องเที่ยว
ตอบ -ภาคกลาง วัดอรุณราชวราราม พระที่นั่งอนัตสมาคม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
        -ภาคเหนือ ทิวเขาถนนธงชัย ภูชี้ฟ้า อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
        -ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยอดภูหลวง ธาตุศรีสองรัก ปราสาทหินพิมาย
        -ภาคตะวันออก เกาะช้าง เกาะล้าน เกาะกูด
        -ภาคใต้ เทือกเขาตะนาวศรี น้ำตกพรหมโลก หนังตะลุง

องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทที่ 4
องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
                   จัดว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญประการอหนึ่งที่มีช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศ  มีคำกัดความ 3 คำ ที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว
1         ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว     Tourism  Resources
2         จดหมายปลายทาง                                 Destination
3         สิ่งดึงดูใจทางการท่องเที่ยว                 Tourist   Attracion 
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
1         ขอบเขต  
-          จุดมุ่งหมายหลัก คือ สถานที่ต้องน่าดึงดูดใจ ทำให้มุ่งตรงไปยังสถานที่นั้น
-          จุดมุ่งหมายรอง คือ สถานที่แวะพัก หรือเยี่ยมชมระหว่างทางไปจุดมุ่งหมายหลัก
2         ความเป็นเจ้าของ  ก็เหมือนกับสินค้าประเภทอื่น ที่จะต้องมีผู้ควบคุมดูแล
3         ความคงทนถาวร คือประเภทสถานที่มักจะคงทนถาวรกว่างานเทศกาหรือกิจกรรมต่างๆ
4         ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละสถานที่จะสนองความต้องการหรือวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
                สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงแต่งเพิ่มจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน
แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
                สถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายู รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป  แต่กรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น 7  ประเภท ได้แก่
·      โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
·      อนุสาวรีย์แห่งชาติ
·      อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ
·      ย่านประวัติศาสตร์
·      อุทยานประวัติศาสตร์
·      นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ
·      ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์
แหล่งท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม   ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
                เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พัฒนามาจากวัฒนธรรม  ประเพณี การดำรงชีวิตของผู้คน แต่โดยความหมาย วัฒนธรรม หมายถึง แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่รวมกันอย่างปกติสุขในสังคม
แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
                ภาคกลาง มี 21 จังหวัด เนื่องจากภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่และเป็นดินแดนอารยธรรมสถานที่ท่องเที่ยวได้แก่ พระบรมมหาราชวัง วัดอรุณราชวราราม เป็นต้น
                ภาคเหนือ มี 17 จังหวัด ลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาทอดยาว ทิวเขาที่สำคัญคือ ทิวเขาถนนธงชัย เป็นทิวเขาที่ใหญ่และยาวที่สุดในภาคเหนือ ส่วนยอดเขาดอยอินทนนท์ เป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เป็นต้น และยังมีแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุทัยพระธาตุดอยสุเทพ เป็นต้น
                ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 19 จังหวัด ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดภูหลวง และยังมีภูกระดึง เขาใหญ่ เป็นต้น มีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์บนแผ่นหินทรายที่อำเภอภูเวียง และมีอารยธรรมเก่าแก่ ได้แก่ ปราสาทหินพิมาย ธาตุศรีสองรัก เป็นต้น สินค้ามีผ้าไหม เครื่องจักสาน และเครื่องปั่นดินเผา
                ภาคตะวันออก มี 4 จังหวัด ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับภูเขาลูกเตี๊ยๆ มีเกาะต่างๆมากมาย เช่น เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด เป็นต้น และเป็นที่ตั้งของสนามบินอู่ตะเภา
                ภาคใต้ มี14 จังหวัด ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินเดีย ขนาบด้วยท้องทะเลอ่าวไทยและอันดามัน สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นทะเล มีกิจกรรมประเพณีที่น่าสนใจ คือ หนังตะลุง รองเง็ง โนราห์ กินเจ ชนวัว งานแข่งเรือกอและ เป็นต้น
                ในประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการจัดให้เป็นมรดกโลกทั้งหมด 5 แห่ง  ประกอบไปด้วยมรดกโลกทางธรรมชาติและมรดกโลกทางวัฒนธรรม
·       ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง  ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2534
·       อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2534
·       อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา  ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2534
·       แหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง  ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2535
·       ดงพญาเย็น-เขาใหญ่  ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2548

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 3
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางนักท่องเที่ยว
แรงจูงใจ
     แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแตกต่างไปจากแรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา  ซึ่งเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคลแรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยาผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา  แรงจูงใจจึงหมายถึงเครือข่ายทั้งหมดของพลังทางวัฒนธรรมและพลังทางชีววิทยา  ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางการท่องเที่ยว
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1.ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น
กล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์ทีมีความต้องการและมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆ  เพื่อที่จะสนองความต้องการและความต้องการจำเป็นต่างๆ  ความต้องการของคนเราจะไม่มีที่สิ้นสุดเมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว  ความต้องการอีกระดับก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่  Maslow ได้เสนอลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ทั้งหลายรวม  5  ขั้น
ความต้องการของมนุษย์มีทั้งหมด 5 ขั้นดังนี้
1.ความต้องการความสำเร็จแห่งตน
2.ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง
3.ความต้องการทางด้านสังคม
4.ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
5.ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา

2. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง
ผู้นำเสนอคือ  Philip  Pearce โดยประยุกต์มาจากทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น  แต่แตกต่างตรงที่ในลำดับขั้นแห่งความต้องการของนักท่องเที่ยวในขั้นที่ 1 หรือความต้องการทางสรีรวิทยา ถึงขั้นที่ 4 หรือความต้องการทางด้านเกียรติยศชื่อเสียงนั้น  ในแต่ละขั้นเกิดขึ้นจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง ส่วนหนึ่งและมีอีกส่วนหนึ่งเป็นการชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น  ยกเว้นความต้องการในขั้นสูงสุดหรือความต้องการความสำเร็จแห่งตนหรือความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด  เป็นขั้นที่เกิดจากความต้องการของตัวบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง
3.แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น
Crompton  ได้ทำการวิจัย เพื่อศึกษาถึงแรงจูงใจที่ผลักดันให้คนเรามีการเดินทางท่องเที่ยว เขาได้ทำวิจัยโดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวที่เป็นคนชั้นกลาง  39 คน สรุปผลการวิจัยของเขาออกมาเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางที่เขาเรียกว่า  วาระซ่อนเร้น เนื้อหาสาระบางส่วนมีเนื้อหาคล้ายกับทฤษฎีแรงจูงใจของ Maslow
แรงจูงใจวาระซ่อนเร้นมี  7 ประเภท
1.            การหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมจำเจ
2.            การสำรวจและการประเมินตัวเอง
3.            การพักผ่อน
4.            ความต้องการเกียรติภูมิ
5.            ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
6.            กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
7.            การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม


4. แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ  Swarbrooke
จำแนกแรงจูงใจที่ทำให้คนเดินทางออกเป็น 6 ชนิดดังนี้
1.            แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ
2.            แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3.            การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง
4.            การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้เพื่อสถานภาพ
5.            แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
6.            แรงจูงใจส่วนบุคคล
       
แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1. แรงจูงใจที่จะได้สำผัสสิ่งแวดล้อม
2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3. แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4. แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6. แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้สถานภาพทางสังคม
10.แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง

โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

หมายถึง  องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ  ถือเป็นส่วนสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี  และทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐานหลักๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่
1.            ระบบไฟฟ้า  จะต้องมีใช้อย่างพอเพียง  ทั่วถึง และใช้การได้ดีไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อเกิดอันตราย
2.            ระบบประปา  ควรมีความสะอาด ถูกหลักอนามัย  มีปริมาณเพียงพอ
3.            ระบบสื่อสารโทรคมนาคม  รวมถึงโทรศัพท์มีสายและไร้สาย  ไปรษณีย์ โทรเลข
โทรสาร และไปรษณีย์อีเลกโทรนิกส์  ต้องมีความรวดเร็วและสะดวก
4.            ระบบการขนส่ง   ประกอบไปด้วย
       ระบบการเดินทางทางอากาศ
       ระบบการเดินทางทางบก
       ระบบการเดินทางทางน้ำ
5.            ระบบสาธารณสุข   ควรมีสาธารณสุขที่ทันสมัย  สะดวก  รวดเร็ว
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
1.            ปัจจัยทางภูมิศาสตร์    เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้แก่
1.2    ลักษณะภูมิประเทศ  ที่ปรากฏอยู่ตามส่วนต่างๆของโลก จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก  การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกมีได้  2 ลักษณะ
       การเปลี่ยนแปลงจากภายในของเปลือกโลก เช่น ภูเขาไฟระเบิด
       การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก เช่น  เนินทราย
                1.2 ลักษณะภูมิอากาศ   พื้นที่ที่ตั้งอยู่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาตามเส้นแลตติจูด  อากาศแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน
ปัจจัยทางวัฒนธรรม
หมายถึง  วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม   วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลาเมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่  วิธีใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ความหมายและความสำคัญของการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว หมายถึง การเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ส่วนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หมายถึง การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัยการผลิตต่างๆ มาผลิตบริการอย่างใดอย่างหนึ่งด้านการท่องเที่ยว ที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายหรือความพึงพอใจ และขายบริการด้านการท่องเที่ยวนั้นให้แก่ผู้เยี่ยมเยือน 
นักท่องเที่ยว (Tourist)  คือ ผู้มาเยือนชั่วคราว ใช้เวลาเดินทางอย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่างทำกิจกรรมต่างๆหรือประกอบธุรกิจ
นักทัศนาจร (Excursionist)  คือ ผู้มาเยือนชั่วคราว ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 24 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว แบ่งออกได้ 3 ประการใหญ่ ได้แก่
1.             เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน (Holiday)
2.             เพื่อธุรกิจ (Business)


3.             เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ
รูปแบบของการท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ
1.             การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
2.             การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
3.             การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา
4.             การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา
5.             การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์
ประเภทการท่องเที่ยว
แบ่งตามสากล
1.             การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism)
2.             การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ (Inbound Tourism)



3.             การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tourism)
แบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง
1.             การท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ(Group Inclusive Tour: GIT)

1.1 กรุ๊ปเหมา
1.2 กรุ๊ปจัด
       2. การท่องเที่ยวแบบอิสระ (Foreign Individual Tourism: FIT)
สินค้าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เหมือนหรือต่างจากสินค้าของอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างไร
สินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Goods)
สินค้าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคือการให้ บริการผู้บริโภคหรือผู้มาเยี่ยมเยือนไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้ ผู้มาเยี่ยมเยือนเพียงแต่ได้รับความพึงพอใจจากสิ่งที่เห็นหรือสิ่งที่ได้รับเท่านั้น
สินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้บริโภค
ผู้บริโภคต้องเดินทางไปซื้อสินค้าและบริการ ณ สถานที่ผลิตนั้นเอง ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวต่างๆ
สินค้าที่ไม่สูญสลาย
เป็นสินค้าและบริการที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหลายครั้ง ในบางครั้งต้องดูแลรักษาและบำรุงให้คงอยู่ในสภาพที่ดีและเสียหายน้อยที่สุด
สินค้าที่เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ก็ได้
สินค้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่เมื่อผู้เยี่ยมเยือนซื้อสินค้าแล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ อาทิ อาหาร ของที่ระลึก เป็นต้น
บางประเภทเพียงแค่ได้สิทธิ์ในการใช้ หรือชม อาทิ การจ่ายค่าห้องโรงแรม ไม่ใช่การได้เป็นเจ้าของห้อง เพียงแต่ได้สิทธิ์ในการเข้าพักตามระยะเวลาที่ตกลง เมื่อเข้ามาที่น้ำตก ทะเล ภูเขา ผู้เยี่ยมเยือนไม่ได้เป็นเจ้าของน้ำตก ทะเล ภูเขา เพียงแต่ได้เข้ามาเยี่ยมชมความงดงามเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภท บริการอาทิ รอยยิ้ม ความช่วยเหลือ การดูแล ผู้เยี่ยมเยือนเพียงแต่ได้รับ บริการเหล่านั้นในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ได้เป็นเจ้าของ
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว (องค์ประกอบหลัก)
1.             สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
2.             ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง
3.             ธุรกิจที่พักแรม
4.             ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
5.             ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว (องค์ประกอบเสริม)
1.             ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
2.             ธุรกิจ MICE
3.             การบริการข่าวสารข้อมูล
4.             การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
5.             การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง
ความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ทางเศรษฐกิจ
1.              เป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศ
2.              ช่วยลดปัญหาการขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
3.              ช่วยสร้างอาชีพและการจ้างงาน
4.              ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้
5.              ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้
ทางสังคมและวัฒนธรรม
1.             ช่วยยกมาตรฐานการครองชีพของคนในท้องถิ่น
2.             ช่วยสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่สังคม
3.             ช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
4.             ช่วยก่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา
5.             ช่วยลดปัญหาความแออัดในเมืองหลวง
6.             ช่วยเกิดให้เกิดการนำทรัพยากรที่ไร้ค่าในท้องถิ่นมาสร้างมูลค่า
ทางด้านการเมือง
1.             ช่วยสร้างสันติภาพและความสามัคคี
2.             ช่วยส่งเสริมความมั่นคงและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ