ป้ายกำกับ

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทที่ 4
องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
                   จัดว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญประการอหนึ่งที่มีช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศ  มีคำกัดความ 3 คำ ที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว
1         ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว     Tourism  Resources
2         จดหมายปลายทาง                                 Destination
3         สิ่งดึงดูใจทางการท่องเที่ยว                 Tourist   Attracion 
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
1         ขอบเขต  
-          จุดมุ่งหมายหลัก คือ สถานที่ต้องน่าดึงดูดใจ ทำให้มุ่งตรงไปยังสถานที่นั้น
-          จุดมุ่งหมายรอง คือ สถานที่แวะพัก หรือเยี่ยมชมระหว่างทางไปจุดมุ่งหมายหลัก
2         ความเป็นเจ้าของ  ก็เหมือนกับสินค้าประเภทอื่น ที่จะต้องมีผู้ควบคุมดูแล
3         ความคงทนถาวร คือประเภทสถานที่มักจะคงทนถาวรกว่างานเทศกาหรือกิจกรรมต่างๆ
4         ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละสถานที่จะสนองความต้องการหรือวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
                สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงแต่งเพิ่มจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน
แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
                สถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายู รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป  แต่กรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น 7  ประเภท ได้แก่
·      โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
·      อนุสาวรีย์แห่งชาติ
·      อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ
·      ย่านประวัติศาสตร์
·      อุทยานประวัติศาสตร์
·      นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ
·      ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์
แหล่งท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม   ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
                เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พัฒนามาจากวัฒนธรรม  ประเพณี การดำรงชีวิตของผู้คน แต่โดยความหมาย วัฒนธรรม หมายถึง แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่รวมกันอย่างปกติสุขในสังคม
แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
                ภาคกลาง มี 21 จังหวัด เนื่องจากภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่และเป็นดินแดนอารยธรรมสถานที่ท่องเที่ยวได้แก่ พระบรมมหาราชวัง วัดอรุณราชวราราม เป็นต้น
                ภาคเหนือ มี 17 จังหวัด ลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาทอดยาว ทิวเขาที่สำคัญคือ ทิวเขาถนนธงชัย เป็นทิวเขาที่ใหญ่และยาวที่สุดในภาคเหนือ ส่วนยอดเขาดอยอินทนนท์ เป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เป็นต้น และยังมีแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุทัยพระธาตุดอยสุเทพ เป็นต้น
                ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 19 จังหวัด ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดภูหลวง และยังมีภูกระดึง เขาใหญ่ เป็นต้น มีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์บนแผ่นหินทรายที่อำเภอภูเวียง และมีอารยธรรมเก่าแก่ ได้แก่ ปราสาทหินพิมาย ธาตุศรีสองรัก เป็นต้น สินค้ามีผ้าไหม เครื่องจักสาน และเครื่องปั่นดินเผา
                ภาคตะวันออก มี 4 จังหวัด ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับภูเขาลูกเตี๊ยๆ มีเกาะต่างๆมากมาย เช่น เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด เป็นต้น และเป็นที่ตั้งของสนามบินอู่ตะเภา
                ภาคใต้ มี14 จังหวัด ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินเดีย ขนาบด้วยท้องทะเลอ่าวไทยและอันดามัน สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นทะเล มีกิจกรรมประเพณีที่น่าสนใจ คือ หนังตะลุง รองเง็ง โนราห์ กินเจ ชนวัว งานแข่งเรือกอและ เป็นต้น
                ในประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการจัดให้เป็นมรดกโลกทั้งหมด 5 แห่ง  ประกอบไปด้วยมรดกโลกทางธรรมชาติและมรดกโลกทางวัฒนธรรม
·       ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง  ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2534
·       อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2534
·       อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา  ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2534
·       แหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง  ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2535
·       ดงพญาเย็น-เขาใหญ่  ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2548

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น